กสิกรไทยคาดยอดส่งออกรถยนต์ปีนี้8.9-9.3แสนคัน/ผลิตในปท.แตะ1.8ล้านคัน


            กสิกรไทยคาดยอดส่งออกรถยนต์ปีนี้8.9-9.3แสนคัน/ผลิตในปท.แตะ1.8ล้านคัน
      
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์"แม้ปัญหาชิ้นส่วนคลี่คลาย แต่ส่งออกรถปี 54 อาจขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยจากปี 53" ระบุว่า จากตัวเลขการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นว่า แม้การส่งออกในช่วงไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 8.2 ตามทิศทางการขยายตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าหลัก

       ทว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 การส่งออกรถยนต์ของไทยต้องเผชิญกับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตรถยนต์ ทำให้ค่ายรถยนต์หลายค่ายต้องตัดสินใจลดกำลังการผลิตลง ส่งผลต่อรถยนต์ที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าที่ลดจำนวนลงอย่างมาก ทำให้การส่งออกไตรมาสที่ 2 หดตัวสูงถึงร้อยละ 24.6 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกหลังจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตลอดช่วง 1 ปีกว่า
และแม้ว่าปัญหาชิ้นส่วนจะคลี่คลายลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 แต่การหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาส 2
สถิติการส่งออกรถยนต์ที่ออกมาล่าสุดพบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ไทยได้มีการส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศ 386,410 คัน หดตัวจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วถึงร้อยละ 7.6 (YoY) ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 ทำไว้ได้ 418,178 คัน โดยถ้าคิดเป็นรายเดือนแล้วจะยิ่งเห็นได้ชัดว่า เดือนที่การส่งออกรถยนต์ของไทยมีทิศทางหดตัวนั้น เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนและต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะการหดตัวที่รุนแรงถึงร้อยละ 48.5 ในเดือนพฤษภาคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดส่งออกโดยรวมครึ่งปีแรกนั้นหดตัวลง

     ซึ่งสาเหตุสำคัญของการหดตัวคงจะหนีไม่พ้นปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ อันเนื่องมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งรุนแรงในญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะค่ายรถญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนรวมกันสูงกว่าร้อยละ 90 ของการผลิตรถยนต์ในประเทศของไทย เป็นกลุ่มที่ได้รับกระทบค่อนข้างมาก ซึ่งค่ายรถที่มีนโยบายการสต๊อกวัตถุดิบคงคลังน้อย และจำเป็นต้องพึ่งชิ้นส่วนสำคัญจากญี่ปุ่น เช่น ชิ้นส่วนเทคโนโลยีที่หาทดแทนได้ยาก เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

alt

















อนึ่ง เมื่อพิจารณาจากสถิติมูลค่าการส่งออกที่รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ จะเห็นว่าในช่วงครึ่งปีแรกนี้การส่งออกรถยนต์นั่งของไทยมีมูลค่า 3,185.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวลงร้อยละ 2.0 (YoY) ส่วนการส่งออกรถแวนและปิกอัพมีมูลค่า 2,451.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 4.0 (YoY)


โดยจะเห็นได้ว่าการส่งออกรถยนต์ส่วนใหญ่ไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักมีการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนอย่างต่อเนื่องเกือบตลอด และเริ่มมีทิศทางหดตัวตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่การผลิตรถยนต์ของไทยเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ซึ่งบางประเทศเริ่มมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน หลังจากผู้ผลิตค่ายต่างๆเริ่มได้รับการส่งมอบชิ้นส่วนคืนสู่ระดับปกติ โดยตลาดที่ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วน และเริ่มฟื้นตัวกลับมาในเดือนมิถุนายน เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่ระดับขึ้นไปเท่ากับก่อนเหตุการณ์ภัยพิบัติ


มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่มีโอกาสฟื้นตัวสูง
alt
การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่มีโอกาสฟื้นตัวสูง
alt
















ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้การส่งออกรถยนต์ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา ในประเทศผู้นำเข้าหลักบางประเทศเองก็ประสบปัญหาภายในประเทศของตน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการเมือง เป็นต้น ซึ่งส่งผลทำให้ปริมาณการนำเข้ารถยนต์ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา


ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงและคาดว่าอาจจะส่งผลทำให้การส่งออกรถยนต์ในช่วงครึ่งหลังไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่าปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนจะคลี่คลายลงไปมากแล้วก็ตาม โดยตลาดที่การส่งออกมีสัญญาณเริ่มเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนหน้าเหตุการณ์ภัยพิบัติแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย และซาอุดิอาระบีย ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัญหาภายในประเทศของแต่ละประเทศ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาจากภัยธรรมชาติ และปัญหาจากความวุ่นวายทางการเมือง เป็นต้น

มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่ยังมีโอกาสชะลอตัว


alt














ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่ยังมีโอกาสชะลอตัว

alt















ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

การส่งออกรถยนต์ครึ่งหลังไปบางตลาดอาจยังต้องเผชิญปัจจัยกดดันอยู่

จากที่ได้กล่าวถึงในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ช่วงที่ผ่านมาการส่งออกหดตัวลง ซึ่งการที่ปัญหามีทิศทางที่คลี่คลายลงมากนี้ ย่อมจะส่งผลดีต่อแนวโน้มการส่งออกในช่วงต่อจากนี้ไป ทว่า การส่งออกไปยังบางตลาดอาจยังต้องเผชิญกับปัจจัยกดดันอยู่ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ และความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ปริมาณรถยนต์ส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับเท่ากับในช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยกดดันเหล่านี้ได้แก่

• ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังคงดำเนินต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่งกระทบต่อภาคการผลิต โดยเฉพาะเพื่อการส่งออก และการท่องเที่ยว ประกอบกับขณะนี้ทิศทางเฟ้อในหลายประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศ โดยในช่วงที่ผ่านมาก ประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าหลักของไทยก็ต้องประสบกับปัญหาดังกล่าว ทั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติในประเทศ และการปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยออสเตรเลียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดร้อยละ 1.75 ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ปี 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 และยืนระดับดอกเบี้ยดังกล่าวที่สูงถึงร้อยละ 4.75 จนถึงปัจจุบัน ทำให้กิจกรรมการผลิตและความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมาลดลง ทั้งนี้แม้ว่าปัจจุบันทิศทางเศรษฐกิจในประเทศออสเตรเลียจะเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังอาจจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ทำให้การนำเข้ารถยนต์จากไทยจะไม่สามารถขยับเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
• ผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมือง ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์บางส่วนไปยังตะวันออกกลาง เนื่องจากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศในแถบนั้น แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นและรักษาระดับสูงอยู่ แต่ความวุ่นวายดังกล่าวก็ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตน้ำมันด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่ยังดำเนินอยู่ต่อเนื่อง และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงขึ้นได้อีก ประกอบกับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยืดเยื้อ ทำให้การนำเข้ารถยนต์จากไทยในกลุ่มประเทศนี้ โดยเฉพาะ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาจได้รับผลกระทบ ส่งผลให้การนำเข้ารถยนต์จากไทยอาจไม่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ปัญหาชิ้นส่วนจะคลี่คลายลงไปมากแล้วก็ตาม

นอกเหนือจากปัจจัยกดดันการส่งออกดังกล่าวแล้ว ฐานการส่งออกที่สูงในปีที่แล้วซึ่งมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 59 (YoY) รวมถึงการที่ค่ายรถยนต์ต่างมุ่งรักษาฐานตลาดรถยนต์ในประเทศที่มีการขยายตัวสูงก่อน เป็นอีกปัจจัยที่จะส่งผลทำให้การส่งออกรถยนต์ในช่วงครึ่งหลัง แม้จะมีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกพอสมควรจากกำลังการผลิตที่เริ่มฟื้นกลับคืนสู่ระดับปกติมากขึ้น แต่ก็ยังไม่อาจทำให้การส่งออกรถยนต์ทั้งปี 54 ขยับขึ้นไปสู่ระดับที่เคยมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 1 ล้านคัน ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกช่วงครึ่งหลังของปี 2554 อาจทำได้สูงถึงประมาณ 505,000 ถึง 540,000 หรือขยายตัวขึ้นกว่าช่วงครึ่งแรกที่ทำไว้ 386,410 คัน ถึงกว่าร้อยละ 30 ถึง 40 ซึ่งจะส่งผลให้ในปี 2554 นี้ การส่งออกรถยนต์ของไทยอาจทำได้ใกล้เคียงกับจำนวน 896,065 คัน ที่เคยทำไว้ในปี 2553 โดยมีจำนวน 890,000 ถึง 930,000 คัน หรือหดตัวร้อยละ 1 ถึงขยายตัวร้อยละ 4 (YoY)

แหล่งข้อมูล  หนังสือพิมพ์ฐานเศรฐกิจ วันพุธที่ 03 สิงหาคม 2011 http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=77600&catid=176&Itemid=524



สรุปข่าว

ปัจจัยลบจากปัญหาในประเทศนำเข้ารถยนต์ของไทยบางประเทศที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาบางประการในประเทศตน ทำให้การนำเข้ารถยนต์ยังคงชะลอลง ส่งผลให้แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2554 ลดลงกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดไว้ในช่วงต้นปีว่ามีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านคันค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ถึงทิศทางการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
     การส่งออกรถยนต์ครึ่งแรกปี 54 หดตัวร้อยละ 7.6 จากผลกระทบปัญหาชิ้นส่วนเป็นหลัก
ปัจจัยลบจากปัญหาในประเทศนำเข้ารถยนต์ของไทยบางประเทศที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาบางประการในประเทศตน ทำให้การนำเข้ารถยนต์ยังคงชะลอลง ส่งผลให้แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2554 ลดลงกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดไว้ในช่วงต้นปีว่ามีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านคันค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ถึงทิศทางการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2554 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
- การส่งออกรถยนต์ครึ่งแรกปี 54 หดตัวร้อยละ 7.6 จากผลกระทบปัญหาชิ้นส่วนเป็นหลัก
- มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่มีโอกาสฟื้นตัวสูง
- การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่มีโอกาสฟื้น  
   ตัวสูง
- การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง รถแวนและปิกอัพไปยังประเทศผู้นำเข้าหลักที่ยังมีโอกาสชะลอตัว
-  การส่งออกรถยนต์ครึ่งหลังไปบางตลาดอาจยังต้องเผชิญปัจจัยกดดันอยู่
        การส่งออกในปีนี้จะขยายตัวได้ไม่สูงนัก แต่ก็คาดว่าการผลิตรถยนต์ในประเทศปีนี้มีโอกาสสูงที่จะพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 1.8 ล้านคัน ตามที่หลายฝ่ายมีการคาดการณ์กัน จากปริมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศปีนี้ที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามีโอกาสขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 10 ถึง 15 (YoY) หรือคิดเป็นจำนวน 880,000 ถึง 920,000 คัน เพิ่มขึ้นจากที่เคยทำได้ 800,357 คัน ในปีที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ๆที่ออกมา อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม เช่น ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก ปัญหาเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้อีกจากระดับปัจจุบัน ประกอบกับนโยบายของภาครัฐที่จะออกมาซึ่งอาจจะส่งผลกระทบได้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบต่อตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ เช่น นโยบายเกี่ยวกับราคาสินค้าเกษตร นโยบายการปรับขึ้นเงินเดือน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อกำลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่นโยบายรถยนต์คันแรก อาจจะทำให้เกิดการชะลอการซื้อรถได้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น