กสิกรไทย-กรุงเทพปล่อยกู้โซลาร์ต้า3.3พันลบ.สร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์



กสิกรไทย-กรุงเทพปล่อยกู้โซลาร์ต้า3.3พันลบ.สร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์
กสิกรไทยร่วมกับแบงก์กรุงเทพ สนับสนุน โซลาร์ต้า สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก วงเงินกู้ 3,300 ล้านบาท บนพื้นที่ภาคกลางของประเทศใกล้จุดศูนย์กลางการขนส่ง จำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ภายในสิ้นปี 2554 นี้

                     นายปรีดี ดาวฉาย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันพลังงานทางเลือกที่เป็นแหล่งพลังงานยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก รวมทั้งภาคเอกชนของไทยก็ให้ความสำคัญและเล็งเห็นประโยชน์ในการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ได้รับความสนใจจากอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพ ได้ร่วมให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด ธนาคารละ 1,650 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อทั้งสิ้น 3,300 ล้านบาท
    ด้านนายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยันฮี โซล่า เพาเวอร์ จำกัด และโรงพยาบาลยันฮี กล่าวว่า โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 8 โครงการ มีขนาดกำลังผลิตรวม 34.25 MW โดยมีบริษัท โซลาร์ต้า จำกัด เป็นผู้พัฒนาและดำเนินโครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม โดยเป็นการร่วมทุนกับ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ด้วยเงินลงทุนกว่า 4,400 ล้านบาท ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไทรเสนา ขนาด 3 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดอยุธยาได้เดินเครื่องผลิตและขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้วเมื่อเมษายน 2554 ที่ผ่านมา ส่วนอีก 7 โครงการที่เหลือคาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ภายในปีนี้
     นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นโครงการพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,000 ตันต่อปี แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงานฟอสซิลและลดการนำเข้าน้ำมันเตาเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 7,400 บาร์เรลต่อปี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้พลังงานทดแทนเป็นธุรกิจหลัก มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ได้ถึง 100 เมกะวัตต์ ในปี 2559 ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ และยังเป็นการกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาวให้แก่ประเทศอีกด้วย
     ทั้งนี้ บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด เป็นบ.ร่วมทุนที่มีผู้ถือหุ้นที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตไฟฟ้าและมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง จึงมั่นใจได้ว่าโครงการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ โดยโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 8 โครงการดังกล่าวมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากที่ใช้พลังงานทดแทนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และได้รับเงินสนับสนุน (Adder) จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จำนวน 8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงเป็นเวลา 10 ปี

ภาพ: นายปรีดี ดาวฉาย (ขวาสุด) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย และนายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู (ซ้ายสุด) รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมแสดงความยินดีถึงความสำเร็จในการจัดสรรเงินกู้จำนวน 3,300 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แก่ บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด โดยมีนายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิ์วณิชชา (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลยันฮี นายนพพล มิลินทจินดา (กลาง) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด และนายบุญชัย เลิศถาวรธรรม (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

แหล่งข้อมูล  หนังสือพิมพ์ฐานธุรกิจ  วันพุธที่ 03 สิงหาคม 2011 http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=77595:-33&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

สรุปข่าว  กสิกรไทยร่วมกับแบงก์กรุงเทพ สนับสนุน โซลาร์ต้า สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก วงเงินกู้ 3,300 ล้านบาท บนพื้นที่ภาคกลางของประเทศใกล้จุดศูนย์กลางการขนส่ง จำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ภายในสิ้นปี 2554 นี้ปัจจุบันพลังงานทางเลือกที่เป็นแหล่งพลังงานยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก รวมทั้งภาคเอกชนของไทยก็ให้ความสำคัญและเล็งเห็นประโยชน์ในการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ได้รับความสนใจจากอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงเทพ ได้ร่วมให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด ธนาคารละ 1,650 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อทั้งสิ้น 3,300 ล้านบาทโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นโครงการพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,000 ตันต่อปี แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงานฟอสซิลและลดการนำเข้าน้ำมันเตาเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 7,400 บาร์เรลต่อปี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้พลังงานทดแทนเป็นธุรกิจหลัก มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ได้ถึง 100 เมกะวัตต์ ในปี 2559 ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ และยังเป็นการกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาวให้แก่ประเทศอีกด้วย

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น