จี้รบ.ตอบโจทย์กินดีอยู่ดี ฝาก'ยิ่งลักษณ์'

    
     เสี่ยปั้นแนะรัฐบาลปู "ยิ่งลักษณ์"ตอบโจทย์ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม สร้างความกินดีอยู่ดีให้ประชาชน เน้นความสำคัญด้านการศึกษา จวกเปลี่ยนรมว.ศึกษาฯบ่อยกว่าเปลี่ยนผ้าอนามัย ย้ำยังคงเป้าสินเชื่อ-แผนธุรกิจรอดูนโยบายรัฐ

 นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง " ขับประเทศไทย ภายใต้บริบท "เศรษฐกิจ สังคม ยุครัฐบาล"ว่า บุคคลใดจะเข้ามานั่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไม่สำคัญเท่ากับการแก้ไขโจทย์ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข และการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา เพราะที่ผ่านมาไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม ซึ่งมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยเหมือนเปลี่ยนผ้าอนามัย ทั้งนี้การศึกษาถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต หากประชาชนมีความรู้ก็จะสามารถช่วยเหลือตนเองในการประกอบอาชีพได้
 "การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญและตั้งความหวังมาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าสามารถทำได้ โดยที่ผ่านมามีโครงการเรียนฟรีก็ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนมีการศึกษาขึ้นแต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด และวิธีที่ดีที่สุดคือควรให้การศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างแท้จริง ทำให้คุณภาพการเรียนรู้เกิดขึ้นจริง และทำให้ประชาชนโดยรวมมีความรู้สามารถทำมาหากินในเวทีโลกได้"
 ขณะที่ประเด็นทางเศรษฐกิจก็ควรให้ความสำคัญควบคู่กันไปพร้อมๆ กับการศึกษา เนื่องจาก หากระบบการศึกษาเดินหน้าเศรษฐกิจก็เดินหน้า ซึ่งถ้าเศรษฐกิจขยายตัวดีอยู่แล้วและประชาชนก็มีความรู้ความสามารถก็ยิ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น
 นายบัณฑูร กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกนั้น ส่วนตัวแล้วเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราะผ่านกระบวนการ กติกา ทางด้านการเมืองมาแล้ว แต่ต่อจากนี้จะขึ้นอยู่กับการบริหารอำนาจที่ได้มาว่าจะทำอย่างไร ซึ่งต้องใช้อำนาจที่ได้มาทำให้ประชาชนทุกคน ทุกชนชั้นในประเทศไทยมีความสุข และความเจริญเกิดขึ้นให้ได้
 ส่วนนโยบายประชานิยมในภาพรวมนั้น ก็มีสูตรของความพอดีอยู่ในตัวเอง ต้องพิจารณาว่าเงินคงคลังถูกนำไปใช้อย่างสมดุลหรือไม่ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ แต่ตอนนี้นโยบายต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจน จึงยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
 ขณะที่โจทย์ทางด้านภาคการเงินนั้น หากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีความมั่นคง เชื่อว่าภาคเอกชนในทุกธุรกิจทุกองค์กรจะสามารถขยายการเติบโตทางธุรกิจได้ดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการเงินในภาพรวมอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกันหากโครงสร้างพื้นฐานอ่อนแอภาคเอกชนก็อ่อนแอตามไปด้วย
 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัญหาทางการเมืองจะไม่มีทางจบสิ้น ยังคงเดินไปตามครรลองของการเมืองอยู่ตลอด ซึ่งเมื่อจบปัญหาหนึ่งก็จะมีโจทย์ใหม่ให้เข้ามาแก้ไขอีก แต่โจทย์ที่รัฐบาลต้องเร่งทำคือทำอย่างไรให้ประชาชนไทยมีอาชีพที่ยั่งยืน มีงานทำ มีเสถียรภาพด้านรายได้ อัตราเงินเฟ้อไม่สูง
 นอกจากนี้ นายบัณฑูร ยังได้กล่าวอีกว่า ในปีนี้ธนาคารยังคงเป้าหมายสินเชื่อและแผนธุรกิจเดิมไว้ โดยธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้ที่ 7-9% ซึ่งเป็นการเติบโตของทุกกลุ่ม ทั้งสินเชื่อรายใหญ่ รายย่อย และเอสเอ็มอี ส่วนอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการดำเนินงานหรือไม่นั้นคงต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลก่อน
 ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ เพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เชื่อว่า คงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพเงินตรา ส่วนรัฐบาลก็มีหน้าที่ผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 แหล่งที่มา    จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,651  10-13  กรกฎาคม พ.ศ. 2554  http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=74347:2011-07-11-01-59-26&catid=104:-financial-&Itemid=443 

    นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวกล่าวในงานสัมมนาเรื่อง " ขับประเทศไทย ภายใต้บริบท "เศรษฐกิจ สังคม ยุครัฐบาล"ว่า บุคคลใดจะเข้ามานั่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไม่สำคัญเท่ากับการแก้ไขโจทย์ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข และการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ทั้งนี้การศึกษาถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต หากประชาชนมีความรู้ก็จะสามารถช่วยเหลือตนเองในการประกอบอาชีพได้     ขณะที่ประเด็นทางเศรษฐกิจก็ควรให้ความสำคัญควบคู่กันไปพร้อมๆ กับการศึกษา เนื่องจาก หากระบบการศึกษาเดินหน้าเศรษฐกิจก็เดินหน้า ซึ่งถ้าเศรษฐกิจขยายตัวดีอยู่แล้วและประชาชนก็มีความรู้ความสามารถก็ยิ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น
 นายบัณฑูร ยังได้กล่าวอีกว่า ในปีนี้ธนาคารยังคงเป้าหมายสินเชื่อและแผนธุรกิจเดิมไว้ โดยธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้ที่ 7-9% ซึ่งเป็นการเติบโตของทุกกลุ่ม ทั้งสินเชื่อรายใหญ่ รายย่อย และเอสเอ็มอี ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ เพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เชื่อว่า คงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่ดูแลรักษาเสถียรภาพเงินตรา ส่วนรัฐบาลก็มีหน้าที่ผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น